เมื่อพูดถึงประเทศจีน เราจะคิดถึงอะไรได้มากมาย หนึ่งในหลาย ๆ สิ่งที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวนั่นก็คือ ศิลปะแบบจีน ซึ่งศิลปะที่ได้รับการยกย่้องว่าปราชญ์ทั้งหลายศึกษาไว้เป็นสิ่งพักผ่อนหย่อนใจในยามว่าง ไว้ขัดเกลาจิตใจ ฝึกฝนสมาธิ จนกลายมาเป็นศิลปะนันทนาการคลาสสิคทั้ง 4 ของจีน นั่นก็คือ "ฉิน ฉี ซู ฮว่า" มาจากอะไรบ้าง
1.ฉิน มาจากคำว่า "กู่ฉิน" คือ พิณโบราณมี 7 สาย มีต้นกำเนิดมานานมากก่อนสมัยชุนชิว ยุคของปราชญ์ทั้งหลายเสียอีก ต่างจาก "กู่เจิง" หรือ บางท่านเรียกว่า "กู่เจิ้ง" ซึ่งมีถึง 21 สาย เสียงฉินนั้นจะทุ้ม ต่ำ ค่อนข้างเบา อาศัยการฟังในที่สงบเงียบ ส่วนกู่เจิงนั้น เสียงจะใส ดังกังวาน กู่ฉินนั้นทั้งท่านขงจื่อ และ ท่านจูกักเหลียง(ขงเบ้ง) ก็ได้เล่นฉินเช่นกัน แต่ในยุคปัจจุบันนี้ได้รวมถึงเครื่องดนตรีจีนโบราณทั้งหลายที่เด่น ๆ ก็เช่น กู่เจิง(พิณจีน) หยางฉิน(ขิม) เอ้อร์หู(ซอจีน) ตี่จื้อ(ขลุ่ยผิวจีน)
2.ฉี มาจากคำว่า "เหวยฉี" นั่นก็คือ "หมากล้อม" หรือ "โกะ" ภาษาทางการว่า "อิโกะ" ในภาษาญีุ่ปุ่น "ปาดุ๊ก" ในภาษาเกาหลีนั่นเอง เป็นหมากกระดานที่มีประวัติอันยาวนาน ว่ากันว่าคิดค้นขึ้นโดยนักพรตเต๋า หรือพระนักบวชศาสนาพุทธในจีน โดยคิดค้นขึ้นจากสัจธรรมที่มีอยู่ในธรรมชาติ โดยที่ว่า "ทุกสรรพสิ่งเริ่มจากความว่าง และจบที่ความว่างเช่นกัน" หมากล้อมเองเป็นเกมกระดานที่ต่างจากหมากกระดานประเภทอื่น ตรงที่เริ่มต้นจาก "ความว่าง" ซึ่งแฝงไว้ด้วยปรัชญาแห่ง "สูญตา" จาก "ความว่าง" ก่อเกิด "รูป" เม็ดหมากแต่ละเม็ดที่วางบนกระดานล้วนมี "คุณค่า" และ "ความหมาย" ที่แตกต่างกันตามตำแหน่งที่อยู่บนจุดตัดบนกระดานเชิ่อมโยงสัมพันธ์กับเม็ดหมากรายรอบ ก่อเกิดปฏิสัมพันธ์มากมายตามตำแหน่งนั้น เม็ดหมากแต่ละเม็ดจึงมิได้มี "คุณค่า" ภายในตัวที่แตกต่างกันตั้งแต่แรก เปรียบได้กับการดำเนินชีวิตของคนเรานั้น เกิดมาต่างก็มิได้มีคุณค่าต่างกันตั้งแต่แรก แต่ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ภูมิปัญญาภายใน การเลี้ยงดู การคบหาผู้คน รสนิยม ความสนใจ การพัฒนาฝึกฝนตนเอง ฯลฯ นั่นเอง ซึ่งท่านขงจื่อเองก็ยังได้กล่าวยกย่องไว้ว่า "ถ้าจะไม่ทำอะไรเลยทั้งวัน เล่นแต่หมากล้อมก็ยังดีกว่าอยู่เปล่าๆ กีฬาในร่มอะไรที่จะเทียบได้กับหมากล้อมนั้นไม่มี"
3.ซู มาจากคำว่า "ซูฝ่า" การเขียนอักษร หรือ การคัดอักษรจีน ซึ่งเป็นศิลปะที่เก่าแก่และแพร่หลายที่สุดของจีน ซึ่งการรับราชการจีนในสมัยก่อนนั้น ถ้าลายมือสวย ถือว่าเป็นการแสดงภูมิปัญญาความสามารถได้อีกอย่างหนึ่ง ลักษณะอักษรที่แตกต่างกัน สามารถแสดงถึงอารมณ์ ความรู้สึกของผู้เขียน และความหมายต่างๆ ที่แฝงอยู่ในภาพได้ แม้ว่าจะเป็นการใช้อักษรสื่อในการแสดงออกของผู้เขียน แต่ผู้ชมก็สามารถรับรู้ความงามของอักษรนั้น ๆ ได้ ดังภาพวาด abstract (นามธรรม) ของศิลปะแบบตะวันตกได้เช่นกัน เมื่อรวมกับตัวอักษรที่เขียนเป็นบทกวีด้วยแล้วยิ่งเพิ่มคุณค่าภายในมากยิ่งขึ้นไปอีก
4.ฮว่า คือ ศิละปะการวาดภาพแบบจีน ในกระบวนภาพวาดจีน ภาพวาด "ภูเขา และ แม่น้ำ" เป็นแม่บทหลักของภาพวาดของจีนที่สุด ซึ่งศิลปะภาพวาดจีนต้องประกอบไปด้วยปรัชญาอิน-หยาง แทนด้วยนิ่งกับเคลื่อนไหว ดังตัวอย่างอื่น เช่น นกกับดอกไม้ แมลงกับต้นหญ้า เป็นต้น เป็นการแสดงความอ่่อนน้อมถ่อมตนเืมื่อเทียบตนเองกับธรรมชาติ ซึ่งทั้งขุนเขาและแม่น้ำ ต่างก็เป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ โดดเด่นในธรรมชาิติ โดยการวาดคนเป็นเพียงส่วนหนึ่งของธรรมชาิติกลมกลืนไปกับภาพ ไม่ได้โดดเด่นชัดเจน เพื่อให้ทั้งผู้วาด และผู้ชมได้เข้าถึงความถ่อมตนได้เป็นอย่างดี ภาพวาดจีนนั้นจะเห็นได้ว่า มีความว่าง พื้นที่ เนื้อที่(space) เหลือไว้่มากมายดูไม่สมดุลเอาเสียเลย เป็นเพราะว่า ในภาพวาดจีนนั้น ความว่างนั้นมีความหมาย มีคุณค่า หรือมีน้ำหนักในตัวมันเอง เพราะการนำสิ่งที่ไม่ได้แสดงออกถึงสิ่งที่ถ่ายทอดในอารมณ์ความรู้สึกของผู้วาดแล้วนำสิ่งที่ไม่เกียวข้องมาถ่วงไว้ให้ดูสมดุลจะเป็นการทำให้ความรู้สึกของผู้วาดและผู้ชมเสียสมดุลไป นอกจากความว่างแล้วภาพวาดจีนยังเน้นถึงช่วงเวลา ฤดูกาลอีกด้วย
คนรุ่นใหม่ในปัจจุบันเข้าใจผิดในคำโบราณที่ว่า "ฉิน ฉี ซู ฮว่า"
ถ้าเล่นกู่ฉิน เล่นหมากล้อม เขียนอักษร วาดพู่กันจีน จะทำให้ตัวเองกลายเป็นปัญญาชนนักปราชญ์
ปัญญาชน หรือ นักปราชญ์ ในภาษาจีนเรียกว่า "เหวินเหริน"
ซึ่งแปลง่าย ๆ ว่า "ผู้รู้หนังสือ" แต่ก็ไม่ใช่ว่าอ่านออก เขียนได้เท่านั้น ยังแสดงถึงผู้ที่มีระดับความรู้ทางอักษร กวี วรรณกรรม ปรัชญา และมีศีลธรรม จรรยาอันสูงส่ง
เหวินในภาษาจีนแปลตรงตัวว่า "วรรณกรรม" หรือที่เราได้ยินในหนังกำลังภายในบ่อย ๆ ว่า เก่งทั้งบุ๋นและบู๊ (เหวินคือภาษาจีนกลาง บุ๋นคือภาษาจีนแต้จิ๋ว) ซึ่งเหวินเหรินก็คือ มนุษย์วรรณกรรม ซึ่งเกี่ยวข้องกับหนังสือนั่นเอง
บางคนถึงกับเข้าใจว่า ถ้าทำได้ทั้งสี่อย่างจะกลายเป็นคนสูงส่ง ไม่ไปปะปนกับสามัญชนคนธรรมดาทั่วไป
แต่ถ้าไร้ "เหวิน" แล้ว ก็เป็นเพียงคนธรรมดา ๆ เท่านั้นเอง
จึงทำให้คนรุ่นหลังมีแนวคิดที่ว่่า คนที่ทำได้ทั้งสี่อย่าง คือสุดยอดอัจริยะ แทบไม่มีข้อด้อย
ข้อนี้เป็นเพียง ปัญญาชนในอุดมคติที่เพ้อฝัน เป็นแค่ความต้องการจากค่านิยมในสังคมเท่านั้นเอง
วันพุธที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2553
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น